เมนู

ฉะนั้น. บทว่า อตฺตสรณา ความว่า เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นคติ อย่า
มีคนอื่นเป็นคติเลย. แม้ในบทมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ก็นัยนี้
นั่นแล. ก็โลกุตรธรรม 9 อย่าง พึงทราบว่า ธรรมในบทนี้. บทว่า
ตมตคฺเคเม เต ตัดบทเป็น ตมอคฺเค ต อักษร ในท่ามกลางท่านกล่าว
ด้วยสามารถการเชื่อมบท. มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านี้ ชื่อว่า ตมตัคคา เพราะ
อรรถว่า มีความมืดเป็นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเทศนาด้วยธรรม
อันเป็นยอด คือพระอรหัตว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นของเรา
ตัดกระแสแห่งความมืดได้ทั้งหมดอย่างนี้แล้ว จักเป็นผู้เลิศ คือส่วนสงสุด
เกินเปรียบ คือจักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา และภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีสติปัฏฐาน 4 เป็นอารมณ์
จักเป็นผู้เลิศ ดังนี้.
จบอรรถกถาคิลานสูตรที่ 9

10. ภิกขุนีสูตร



ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 ย่อมรู้คุณวิเศษ


[714] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่าน
พระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงพูดกะท่าน
พระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมีมากรูปในธรรมวินัยนี้

มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4 ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษ
ในกาลก่อน. ท่านพระอานนท์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจาก
คุณวิเศษในกาลก่อน. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
[715] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร-
สาวัตถีแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้
ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง
แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้ามาหาข้าพระองค์
ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้พูดกะข้า-
พระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปในธรรมวินัยนี้
มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4 ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษ
ในกาลก่อน. เมื่อภิกษุณีทั้งหลายพูดอย่างนั้นแล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิต
ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน 4 ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้
คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน.
[716] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อันเป็นอย่างนั้น
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วใน
สติปัฏฐาน 4 ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึ่งหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่ง
อย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน.

[717] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี.
ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด
อย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด
อย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอ
มีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข
เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้. เธอ
คุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีสติ ในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[718] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารพาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความ
เร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี
จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี. ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอ
ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมี
กายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอย่อมพิจารณา
เห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว

บัดนี้เราจะคุมจิตไว้. เมื่อเธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ครอง ย่อมรู้ชัดว่า
เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ ดูก่อน
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.
[719] ดูก่อนอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก.
อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิต
อันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม
รู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[720] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ
ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[721] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ
ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[722] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเรามิได้
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม

รู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[723] ดูก่อนอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้อย่างนั้นแล
ดูก่อนอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ เราแสดงแล้ว ภาวนาย่อมมี
เพราะมิได้ตั้งจิตไว้ เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนอานนท์
กิจอันใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ นุ่งความอนุเคราะห์จะ
พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. อานนท์
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มี
ความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ปลื้มใจ
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบภิกขุนีสูตรที่ 10
จบอัมพปาลิวรรคที่ 1

อรรถกถาภิกขุนีสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนีสูตรที่ 10
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระอานนท์ เข้าไปหาด้วยคิดว่า
เราจักให้พวกภิกษุณีผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานมีอยู่ในสำนักนั้น เกิดความขวนขวาย
แล้ว จักบอกกัมมัฏฐานแก่เธอเหล่านั้น. บทว่า อุฬารํ ปุพฺเพนาปรํ วิเสสํ
ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในเบื้องต้น . การกำหนด
มหาภูตรูปในบทนั้น เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น การกำหนดอุปาทายรูป ชื่อว่า
คุณวิเศษในเบื้องปลาย การกำหนดสกลรูป เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้นก็อย่าง
นั้น การกำหนดอรูป ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย การกำหนดรูปและอรูป
เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น. การกำหนดปัจจัย ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย.
การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น. การยกขึ้นสู่
ไตรลักษณ์ ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย อธิบายว่า ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่ง
เบื้องปลายจากคุณวิเศษในเบื้องต้นอย่างนี้.
บทว่า กายารมฺมโณ ความว่า เธอย่อมพิจารณาเห็นกายใด และ
ความเร่าร้อนเพราะกิเลสย่อมเกิดขึ้น เพราะทำกายนั้นแลให้เป็นอารมณ์.
บทว่า พหิทฺธา วา จิตฺตํ วิกฺขิปติ ความว่า จิตตุปบาทย่อมฟุ้งไปใน
ภายนอก คือในอารมณ์มากบ้าง. บทว่า กิสฺมิญฺเทว ปสาทนีเย นิมิตฺเต
จิตฺตํ ปณิทหิตพฺพํ ความว่า เมื่อความเร่าร้อนเพราะกิเลส ความหดหู่
และความฟุ้งซ่านไปในภายนอก เกิดขึ้นแล้ว ไม่พึงประพฤติไปตามความ
ยินดีของกิเลส คือพึงตั้งจิตไว้ในกัมมัฏฐาน ในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใส คือนำความเลื่อมใสมาให้อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ในฐานะอย่างใด